นาฬิกา

ประวัติศาตร์หน่วยที่2

หน่วยการเรียนรู้ที่2
วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง



1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
          1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
          2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
          3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
          4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
          5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
          6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น



2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
          1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
          2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
          4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
          5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น



ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ศิริพร ดาบเพชร คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

งานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถือเป็นยุคทองของสมัยกรุงสุโขทัย เนื่องจากได้เกิดแบบแผนความเจริญทางวัฒนธรรมที่เป็นของไทย ซึ่งความเจริญทางวัฒนธรรมดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับ 3 รูปแบบ คือ พุทธศาสนา ภาษาไทย และศิลปะ
พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของประชาชน โดยมีวัดเป็น ศูนย์ กลางทางด้านการวัฒนธรรมของชุมชน มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่และสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน และมีอิทธิพลต่อคติการปกครอง ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต ระเบียบทางสังคมและศิลปะ
งานสร้างสรรค์ทางศิลปะของกรุงสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เจดีย์จิตรกรรม มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญโดยดัดแปลง รูปแบบศิลปกรรมจากขอม ให้มีลีลาอ่อนช้อยงดงาม ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปางลีลา ยิ่งกว่านั้นแล้วพุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญต่องานสร้างสรรค์ ทางวรรณกรรมด้วย ดังตัวอย่าง บทพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) คือไตรภูมิพระร่วง
นอกจากนั้นแล้วเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งที่สำคัญของสมัยสุโขทัย คือภาษาไทย โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีการประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นจากเดิมที่เคยใช้ภาษาสันสกฤตหรือภาษาขอม อักษรไทยดังกล่าวนิยมใช้กันสืบต่อมาจนปัจจุบัน


4.2 ศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา
1) ศาสนาและศิลปะ
ชาวกรุงศรีอยุธยานับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ แต่ได้รับอิทธิพลขอม ศาสนาพราหมณ์ ที่แพร่หลายอยู่ก่อนหน้าการเข้ามาของ พุทธศาสนาอยู่มาก การผสมผสานกันของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จึงเป็นลักษณะสำคัญของศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน ศิลปกรรมต่างๆ ได้แก่ งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ภาษาและวรรณคดี และวัฒนธรรมประเพณี
2) สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้รับอิทธิพลจากขอมและสุโขทัย เช่น พระปรางค์วัดพุทไธสวรรค์ วัดราชบูรณะ เป็นต้น ส่วนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นเจดีย์แบบเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เช่น เจดีย์วัดภูเขาทอง วัดชุมพลนิกายาราม เป็นต้น
3) ประติมากรรม
พระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทองและตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมสร้างพระพุทธรูป แบบทรงเครื่อง อย่างไรก็ตามสมัยกรุงศรีอยุธยาพระพุทธรูปมีลักษณะน่าเกรงขาม และไม่งดงามเท่าสมัยสุโขทัย
4) จิตรกรรม
จิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพพุทธประวัติใช้สี 3 สีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ สีด ขาว และแดง และตอนปลาย เพิ่ม สีเขียว สีฟ้า และสีม่วง ภาพที่วาดเป็นภาพธรรมชาติ
5) ภาษาและวรรณคดี
ภาษาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมขอม เป็นคำราชาศัพท์ วรรณคดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนาทีสำคัญ เช่นลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาชาติคำหลวง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และกาพย์เห่เรือ เป็นต้น
6) วัฒนธรรมประเพณี
วัฒนธรรมกรุงศรีอยุธยา เป็นลักษณะวัฒนธรรมผสม ระหว่างวัฒนธรรมไทยแท้กับวัฒนธรรมต่างชาติที่สำคัญ ที่สุด คือ วัฒนธรรมอินเดียซึ่งรับมาจากพวกพราหมณ์ วัฒนธรรมและประเพณีสำคัญ เช่น พระราพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีพืชมงคล พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีการบวช และการทำบุญ เป็นต้น





3 ศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีดังนี้
1) ศาสนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เรียกว่า ฉบับหลวงหรือฉบับทองใหญ่ และมีการตรากฎหมายปกครองคณะสงฆ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ
2) ประเพณีและวัฒนธรรม
พระราชประเพณีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และราชพิธีพืชมงคล เป็นต้น
ส่วนประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคนไทยโดยทั่วไป เช่น การลอยกระทงการเล่นสักวา การเล่นเพลงเรือ พิธีตรุษ สารท เป็นต้น
3) สถาปัตยธรรม
สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือการสร้างพระบรมมหาราชวัง
4) ประติมากรรม
ประติมากรรมชิ้นเอก คือ การแกะสลักประตูกลางด้านหน้าพระวิหารวัดสุทัศน์ และงานตกแต่งหน้าบรรณพระอุโบาสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
5) จิตรกรรม
จิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนางาน จิตรกรรมที่สำคัญ เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถวัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น
6) วรรณกรรม
สมัยรัชกาลที่ 1 วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น นิราศท่าดินแดง โครงพยุหยาตรา และมหาชาติคำหลวง เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองของวรรณกรรม วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน อิเหนา รามเกียรติ์ และเพลงพากย์โขน เป็นต้น
กวีสำคัญในสมัยนี้ เช่น พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระยาตรัง และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น
7) ดนตรีและนาฏศิลป์
การละเล่นที่สำคัญ คือ โขน ซึ่งพัฒนามาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ นิยมเล่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนละคร มีทั้งละครนอกและละครใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีซอสายฟ้าฟาดคู่พระหัตถ์ และทรงพระราชนิพนธ์ เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งต่อมา ทรงเรียกว่า เพลงพระสุบิน
การปรับปรุงประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก แทนที่จะ ปรับปรุงประเทศตามแบบอยุธยา อย่างเช่นที่เคยเป็นมา การปรับดังกล่าวได้แก่

การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
1) การประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ตามแบบตะวันตก
2) การปฏิบัติต่อต่างชาติ โดยการให้เข้าเฝ้าโดยการยืน และถวายคำนับ แทนการหมอบคลาน และทรงให้ชาวต่างชาติ ิร่วมโต๊ะเสวยในวันสำคัญต่างๆ ซึ่งทำให้ต่างชาติยอมรับประเทศไทยมากชึ้น
3) ให้มีประเพณีตีกลองฎีกา เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้ และทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทานแก่ขุนนาง และเจ้านาย

การส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม
1) สถาปัตยกรรม ทรงโปรดศิลปกรรมตะวันตกมากจึงสร้างขึ้นหลายแหล่ง เช่น พระราชวังสราญรมย์ เป็นต้น
2) ประติมากรรม ศิลปกรรมตะวันตก แสดงออกมาในแบบรูปปั้นต่างๆ เช่น พระพุทธพรรณี เป็นต้น
3) จิตรกรรม เริ่มนำเอาเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกมาใช้ ผู้ที่นำมา คือ พระอาจารย์ขรัวอินโข่ง
4) วรรณกรรม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง เช่น บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ มหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น กวีมีชื่อเสียง เช่น ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา

การปรับปรุงประเทศของพระองค์ เป็นการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับอารยธรรมตะวันตก ซึ่งกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในขณะนั้น และการ ปรับปรุงของพระองค์มีผลกระทบโดยตรงต่อพระราชโอรสของพระองค์ เมื่อขึ้นครองราชย์ คือรัชกาลที่ 5
ในเวลาต่อมา รัชกาลบที่ 5 ได้ทำการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม ดังนี้

การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี
1) เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบทหารให้ใช้แบบตะวันตกและผู้ชายให้ใส่เสื่อราชปะแตน ผู้หญิงให้ไว้ผมทรง ดอกกระทุ่ม เป็นต้น
2) ยกเลิกประเพณีหมอบคลาน ยกเลิกการสืบพยานแบบจารีตนครบาลและประกาศใช้การนับ ร.ศ. โดยยึด พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1
3) แก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ใหม่ โดยการตั้งตำแหน่งสยามมกถฎราชกุมาร แทนตำแหน่งวังหน้า
การส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม
1) วรรณกรรม ที่สำคัญ เช่น บทละครเรื่องเงาะป่าไกลบ้าน และของพระยาศรีสุนทรโวหาร เช่นมูลบทบรรพกิจ อักษรประโยค
2) ศิลปกรรม ศิลปกรรมมักจะเป็นของไทยผสมกับยุโรป เช่น วัดเบญจมบพิตร พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น
3) ประติมากรรม เช่น พระบรมรูปทรงม้า พระพุทธชินราชจำลอง
4) จิตรกรรม มีภาพเขียนแบบตะวันตกที่เรียกว่า ภาพเขียนปูนเปียก และมีภาพจิตกรรมฝาผนัง
5) นาฏกรรม ละครแบบใหม่ในสมัยนี้ เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
รัชกาลต่อมา คือ รัชกาลที่ 6 ก็ได้พัฒนาประเทศด้วยการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี และความเจริญด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ดังนี้

การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี
(1) การออกพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อประโยชน์ในการปกครองของประเทศ
(2) เปลี่ยนธงชาติจากธงช้าเผือกเป็นธงไตรรงค์
(3) ใช้ พ.ศ. ตามการนับถือพระพุทธศาสนา และเปลี่ยนการนับเวลาเป็น 1 นาฬิกา ถ้าหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว
(4) กำหหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี



ศิลปวัฒนธรรม
1) สถาปัตยกรรม ศิลปะแบบไทยแห่งแรกที่ทรงสร้าง คือ พระราชวังสนามจันทน์ จังหวัดนครปฐม
2) ประติมากรรม ประติมากรรมแบบไทยแท้ เช่น รูปหล่อสัมฤทธิ์พระนางธรณีบีบมวยผม เป็นต้น
3) จิตรกรรม เป็นภาพเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก และพระมหากษัตริย์ไทย เช่น ภาพเขียนที่โดมพระที่นั่งอนันตสมาคม
4) วรรณกรรม อิทธิพลของตะวันตกมีมากขึ้น การเขียนร้อยกรองเปลี่ยนเป็นการเขียนร้อยแก้ว รูปแบบคำประพันธ์ก็เป็นแบบ ตะวันตกมากขึ้น
5) ศิลปกรรม พระองค์สนใจงานศิลปกรรมมากจึงได้จัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้น เพื่อให้มีการสอนศิลปะไทยและศิลปะ ตะวันตก จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้คือ พระยาอนุศาสน์ เป็นผู้เขียนภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหัดพระนครศรีอยุธยา
6) นาฏกรรม โขน ละคร และดนตรี เจริญสูงสุดในสมัยนี้ เพราะพระองค์เชื่อว่านอกจากจะให้ความบันเทิงใจแล้ว ยังสามารถ ยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น